หลักสูตรปริญญาเอก

ปริญญาเอก

หลักสูตรปริญญาเอก ที่เปิดสอนในคณะแพทยศาสตร์ มี 16 หลักสูตร ได้แก่

      • หลักสูตรปกติ
          • กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)
          • จุลชีววิทยา (Microbiology)
          • ชีวเคมี (Biochemistry)
          • นิติวิทยากระดูก (Forensic Osteology)
          • ปรสิตวิทยา (Parasitology)
          • เภสัชวิทยา (Pharmacology)
          • ระบาดวิทยาคลินิก (Clinical Epidemiology)
          • สรีรวิทยา (Physiology)
      • หลักสูตรนานาชาติ
          • กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)
          • ชีวเคมี (Biochemistry)
          • ปรสิตวิทยา (Parasitology)
          • เภสัชวิทยา (Pharmacology)
          • วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (Clinical Medical Science)
          • เวชศาสตร์ชุมชน (Community Medicine)
          • สรีรวิทยา (Physiology)
          • สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (Obstetrics and Gynecology)

โครงสร้างทั่วไปของหลักสูตรปริญญาเอก

หลักสูตรปริญญาเอก เป็นหลักสูตรที่เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิชาการระดับสูง และนักวิจัย แบ่งการเรียนการสอนเป็น 2 แบบ ดังนี้:

    • แบบที่ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
        1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท : ต้องทำวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
        2. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยม) : ต้องทำวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต นอกเหนือจากการทำวิทยานิพนธ์ หลักสูตรอาจกำหนดให้ศึกษากระบวนวิชาเพิ่มเติมได้ หรือทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นเพิ่มเติม โดยไม่นับหน่วยกิต แต่จะต้องมีผลสัมฤทธิ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
    • แบบที่ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
        1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท : ต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษา กระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
        2. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี : ต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษา กระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต