หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ที่เปิดสอนในคณะแพทยศาสตร์ มี 1 หลักสูตร ประกอบไปด้วย 16 แขนงวิชา ได้แก่

      • กุมารเวชศาสตร์ (Pediatrics)
      • จักษุวิทยา (Ophthalmology)
      • จิตเวชศาสตร์ (Psychiatry)
      • พยาธิวิทยากายวิภาค(Anatomical Pathology)
      • วิสัญญีวิทยา (Anesthesiology)
      • รังสีวินิจฉัย (Diagnostic Radiology)
      • รังสีรักษา (Radiology and Oncology)
      • เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Nuclear Medicine)
      • เวชศาสตร์ครอบครัว (Family Medicine)
      • เวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation Medicine)
      • เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (Emergency Medicine)
      • ศัลยศาสตร์ (Surgery)
      • สูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา (Obstetrics and Gynecology)
      • โสต ศอ นาสิกวิทยา (Otolaryngology)
      • ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics)
      • อายุรศาสตร์ (Internal Medicine)

โครงสร้างทั่วไปของหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพ ให้มีความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางานในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ การศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง จะต้องศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา มีหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต