Skip to content

14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์นี้ อย่าลืม “ฟังเสียงหัวใจตัวเอง” นะครับ

สาเหตุหลักของการเกิดโรคหัวใจเกิดด้วยหลายประการด้วยกัน ได้แก่
•พันธุกรรม ความผิดปกติของยีนหนึ่งยีนที่นำไปสู่การทำให้เกิดโรค เช่น ภาวะโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ส่วนใหญ่เป็นโรคที่มียีนหลายยีนควบคุม เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคเบาหวาน
•ปัจจัยแวดล้อม เช่น รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และเกลือสูง ภาวะอ้วน การขาดการออกกำลังกาย โดยปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้ยีนผิดปกติทำงานมากขึ้น และส่งผลทำให้เกิดโรคได้ในที่สุด
สัญญาณเตือน อาการที่ควรตระหนักรู้ของโรคหัวใจ
เมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพบแพทย์
1. เจ็บอกขณะออกแรง เช่น เดินขึ้นบันได เดินทางไกล ยกของหนัก แล้วมีอาการจุกแน่นอก หรือหนักอกเหมือนช้างทับอก จนต้องหยุดพักจึงจะดีขึ้น
2. ใจสั่น ไม่ว่าจะเป็นอาการที่รู้สึกว่าเต้นเร็ว ช้า หรือไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหนื่อยง่ายขึ้น วูบ หน้ามืด
3. อาการบวม เกิดจากการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อ เมื่อเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ไตจะทำหน้าที่สะสมน้ำและเกลือโซเดียมในร่างกายมากขึ้น น้ำที่เกินจะไปสะสมในบริเวณที่อยู่ต่ำตามแรงโน้มถ่วง หากยืนนาน ขาจะบวม หากนอนนานจะบวมบริเวณกระดูกก้นกบ เป็นต้น
4. เหนื่อยง่ายขึ้น จากเคยขึ้นบันไดได้ง่าย ๆ สบาย ๆ กลายเป็นเดินขึ้นแล้วเหนื่อย ต้องหยุดพัก หรือนอนราบไม่ค่อยได้ มีอาการหายใจไม่ออก จนต้องหนุนหมอนสูงขึ้น จึงจะทำให้หายใจได้โล่ง
5. วูบหมดสติ หากมีอาการใจสั่นนำมาก่อนการหมดสติ จะมีความเป็นไปได้สูงว่าอาการดังกล่าวจะเกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การป้องกันโรคหัวใจ
– ควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงเกินมาตรฐาน ควบคุมคอเลสเตอรอล และน้ำตาลในเลือด
– ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
– ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็ม
– เน้นรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่มีรสหวาน
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ เช่น วิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า เต้นแอโรบิก วิ่ง ว่ายน้ำ
– ไม่สูบบุหรี่
– หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อาหารอะไรที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ? ได้แก่
ผัก
ผลไม้ที่มีความหวานน้อย
ธัญพืช และถั่ว
ผลิตภัณฑ์นม (ไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมัน)
ไข่ ปลา และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน (ไม่ทอด)
ไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก, น้ำมันงา, น้ำมันคาโนลา เป็นต้น
อาหารที่ควรจำกัดและหลีกเลี่ยง ได้แก่
– น้ำตาล และอาหารหวาน
– เกลือ และเครื่องปรุงรส
– ไขมันสัตว์ และไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม
– อาหารแปรรูป
– อาหารที่มีพลังงานสูงเกินไป
หากคุณมีพฤติกรรมเสี่ยง ควรเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้เพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ! ปรึกษา
คลินิกเฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด
•วันที่ให้บริการ :
– วันพุธ เวลา : 09:00-12:00 น.
สถานที่ให้บริการ : ห้องตรวจเบอร์ 22 ชั้น 11 อาคารศรีพัฒน์
– วันศุกร์ เวลา : 09:00-12:00 น.
สถานที่ให้บริการ :ห้องตรวจเบอร์ 110 ชั้น 1 อาคารบุญสม มาร์ติน
คลินิกเฉพาะทางโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่
•วันที่ให้บริการ :
วันจันทร์ เวลา : 13:00-16:00 น.
สถานที่ให้บริการ : ห้องตรวจศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 8 อาคารศรีพัฒน์
ห้องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านผนังหน้าอก
•วันที่ให้บริการ :
จันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา : 08:00-16:00 น.
สถานที่ให้บริการ : ห้องตรวจศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 8 อาคารศรีพัฒน์
ห้องตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
•วันที่ให้บริการ :
วันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา : 08:00-16:00 น.
สถานที่ให้บริการ : ห้องตรวจสวนหัวใจ ชั้น 8 อาคารศรีพัฒน์
คลินิกเฉพาะทางโรคหัวใจล้มเหลว
•วันที่ให้บริการ :
วันอังคาร, พฤหัสบดี
เวลา : 09:00-12:00 น.
สถานที่ให้บริการ : ห้องตรวจศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 8 อาคารศรีพัฒน์
คลินิกเฉพาะทางโรคหัวใจหลังผ่าตัดใส่เครื่องช๊อค หรือ กระตุ้นการเต้นของหัวใจ
•วันที่ให้บริการ :
วันอังคาร เวลา : 09:00-12:00 น.
สถานที่ให้บริการ : ห้องตรวจศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 8 อาคารศรีพัฒน์
ห้องตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย
•วันที่ให้บริการ :
วันอังคาร เวลา : 13:00-16:00 น.
สถานที่ให้บริการ : ห้องตรวจศูนย์โรคหัวใจ ชั้น 8 อาคารศรีพัฒน์
คลินิกเฉพาะทางนอกเวลาราชการโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และ อายุรกรรม
•วันที่ให้บริการ :
วันจันทร์, ศุกร์, เสาร์
เวลา : 16:30-20:30 น. และ 07:30-12:00 น.
สถานที่ให้บริการ : ห้องตรวจเบอร์ 9 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระบารมี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ผศ.นพ.กฤษณ์ ลีมะสวัสดิ์ อาจารย์ประจำหน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช.
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่