Skip to content

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คว้ารางวัลระดับประเทศ สุดยอดแบรนด์ที่มีผลงานยอดเยี่ยม บนโซเชียลมีเดีย ในงาน THAILAND SOCIAL AWARDS ครั้งที่ 12

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช. พร้อมด้วย ผศ.พญ.พุดตาน วงศ์ตรีรัตนชัย รองคณบดีด้านสื่อสารองค์กร และ คุณธวัชชัย กฤติยาภิชาตกุล ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ คณะแพทยศาสตร์ มช. ร่วมในงานมอบรางวัล สุดยอดแบรนด์ที่มีผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย THAILAND SOCIAL AWARDS ครั้งที่ 12 ซึ่งเป็นงานประกาศรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จัดโดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด เพื่อให้ความสำคัญกับวงการโซเชียล ที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศ อีกทั้ง ร่วมส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ และยกระดับวงการโซเชียล ด้วยการมอบรางวัลเชิดชูผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่าง ๆ โดยคณะแพทยศาสตร์ มช. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้รับรางวัล BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA กลุ่มแบรนด์ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย สาขาโรงพยาบาล โดยมีกลุ่มงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มช. ร่วมรับมอบรางวัล ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 ณ TRUE ICON HALL ICONSIAM กรุงเทพมหานคร

​ทั้งนี้ รางวัล THAILAND SOCIAL AWARDS ได้พัฒนาเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพการสื่อสาร หรือ WISESIGHT BRAND METRIC ร่วมกับคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 14 ท่าน ผ่านเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพการสื่อสาร 4 ค่าชี้วัด คือ

1. ค่าชี้วัดแบรนด์ (BRAND SCORE)
ค่าชี้วัดผลประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์ในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ โดยวัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางหลักของแบรนด์ (Own Chanel) และจากช่องทางที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (Earn Channel) ผ่าน 5 ช่องทาง ดังนี้ Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube โดยพิจารณาผ่าน 2 มุมมองหลักคือ การวัดผลประสิทธิภาพเชิงปริมาณ และการวัดประสิทธิภาพเชิงคุณภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

การวัดประสิทธิภาพเชิงปริมาณ
• Follower (จำนวนผู้ติดตาม)
• Fan Growth (การเติบโตของผู้ติดตาม)
• View & Interaction (จำนวนความสนใจที่บุคคลมีต่อเนื้อหาของแบรนด์)
• Unique Daily Social Mentions (จำนวนข้อความต่อหนึ่งผู้ใช้งานต่อวันที่พูดถึงแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย)

การวัดประสิทธิภาพเชิงคุณภาพ
• Comment & Share Ratio (การแสดงความคิดเห็น และการส่งต่อเนื้อหาของแบรนด์)
• Advocacy (การสนับสนุนเนื้อหาของแบรนด์โดยการแนะนำให้กับบุคคลอื่น)
• Intention (จำนวนเนื้อหาที่แสดงความสนใจซื้อที่มีต่อแบรนด์)
• Sentiment (ความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์)
2. ค่าชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางหลักของแบรนด์ (OWN SCORE)
ใน 5 ช่องทาง ได้แก่ Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube
3. ค่าชี้วัดประสิทธิภาพการสื่อสารจากช่องทางที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ (EARN SCORE)
ใน 5 ช่องทาง ได้แก่ Facebook, Instagram, TikTok, Twitter และ YouTube
4. ค่าชี้วัดการแสดงความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ (SENTIMENT SCORE)

​คณะแพทยศาสตร์ มช. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้พัฒนาการสร้างสรรค์สื่อผ่านการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียหลากหลายช่องทาง อาทิ Facebook, YouTube, Instagram, Twitter, TikTok เพื่อวัตถุประสงค์ในการเข้าถึงกลุ่มผู้ติดตามที่หลากหลายช่วงวัย ตอบสนองความต้องการในการให้บริการความรู้ด้านสุขภาพ และเพื่อขับเคลื่อนการสื่อสารภายในองค์กร สู่การบริการทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ สู่ชุมชน พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมจากผู้ติดตามผ่านกิจกรรมในช่องทางโซเชียลมีเดียมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดูแลและอำนวยการผลิต โดยผู้บริหารและบุคลากร จากกลุ่มงานสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงเรียนแพทย์ในดวงใจ เพื่อการยกระดับสุขภาวะของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน

​ทั้งนี้ การได้รับรางวัล BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA สาขา HOSPITAL นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของชาวสวนดอก และคณะแพทยศาสตร์ มช. โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จะยังคงมุ่งมั่น สร้างสรรค์ พัฒนาคอนเทนต์ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้รับบริการที่มีต่อแบรนด์ “MED CMU”

ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่