ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย และสมเหตุผล

ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย และสมเหตุผล

ในปัจจุบัน ยาสามัญประจำบ้าน ถือว่าเป็นยาที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดคือ เป็นยาพื้นฐานที่ใช้ทุกช่วงอายุ แต่ยังมีผู้ที่นำมาใช้ผิด และมีการถูกนำมาใช้โดยไม่ปลอดภัยค่อนข้างบ่อย เนื่องจากเป็นยาที่ต้องมีการคำนวนตามน้ำหนักตัว หากใช้ขนาดที่ไม่เหมาะสมตามน้ำหนักตัว ยาทุกชนิดจะมีการเปลี่ยนสภาพ และอาจทำให้เกิดสารที่มีความเป็นพิษต่อร่างกายได้ แต่หากรับประทานในขนาดปกติ ร่างกายสามารถที่กำจัดสารที่สลาย ขับออกมาโดยที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
อย่างในกรณีของยาพาราเซตามอล ถูกนำมาบรรจุในรูปแบบที่มีขนาดเหมาะสม การคำนวนการใช้จึงไม่ควรเกิน 10-15 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัมต่อครั้ง หากรับประทานบ่อยเกิน 4 กรัม ต่อวัน สารที่สลายไม่หมดจะมีพิษต่อตับ ทำให้ร่างกายกำจัดออกได้ไม่ทัน และจะเป็นพิษต่อร่างกายได้ ซึ่งในผู้ใหญ่จะไม่น่ากังวลเท่าไหร่นัก เนื่องจากยาของผู้ใหญ่จะผลิตออกมาในรูปแบบยาเม็ด ซึ่งมีขนาดมาตรฐาน แต่การใช้ยาสำหรับเด็กจะต้องมีการศึกษาการนำมาใช้ และมีความระวัง หากใช้ยาเกินขนาดนอกจากจะเป็นพิษต่อตับแล้วยังส่งผลให้เสียชีวิตอีกด้วย

การรับประทานยาพาราเซตามอล ที่ถูกต้องสำหรับผู้ใหญ่
คำนวนตามน้ำหนัก
-น้ำหนัก 50 กิโลกรัม รับประทานครั้งละ 1 เม็ด
-น้ำหนัก 75 กิโลกรับขึ้นไป รับประทานครั้งละ 2 เม็ด
ไม่ควรทานเกิน 4 กรัมต่อวัน (ไม่ควรเกิน 4 เม็ด) หรือไม่ควรเกิน 6 เม็ดต่อวัน

ในปัจจุบัน จากการที่ประเทศไทยได้มีการรณรงค์และมุ่งมั่นที่จะใช้ยาอย่างสมเหตุผลของโลก ให้ได้ภายในปี 2567 โดยได้มีการทบทวนการใช้ยา และขนาดการใช้ยาอย่างเหมาะสมของประชาชนในประเทศไทย จึงเป็นที่มาของการปรับหน้าฉลากยา จากเดิมที่มีการจำหน่ายยาพาราเซตามอล ครั้งละ 2 เม็ด จึงเปลี่ยนมาเป็น 1 เม็ดแทน ดังนั้นจึงเป็นมาตรการนโยบายในการใช้ยาสมเหตุสมผลในประเทศไทยเป็นต้นมา
จากข้อมูลทั่วโลก ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในด้านยา ค่อนข้างสูงและมีการบริโภคยาสูงเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยค้นหาข้อมูลและได้ค้นพบว่า การใช้ยาในบางครั้งมีการใช้ยาเกินความจำเป็น เพราะชนิดการถูกนำมาใช้ มีความเสี่ยงในการที่จะเกิดผลเสียตามมา และเกิดปัญหาใหม่ได้ เช่น การนำยาปฏิชีวนะ มาใช้ไม่เหมาะสม จนทำให้เกิดจุลชีพดื้อต่อยาชนิดเดิม ดังนั้นส่งผลให้ต้นทุนในการรักษาโรคเดิมที่เคยใช้และได้ผล ต้องเปลี่ยนไป และยังต้องใช้ยาที่ราคาสูงและมีอันตรายมากขึ้น จนเกิดปัญหาลูกโซ่ของการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลได้อีกด้วย

หลักในการนำยาออกมาใช้
-ต้องมีความมั่นใจว่ายามีคุณภาพ โดยสังเกตจาก สี กลิ่น
-เมื่อเปิดขวดยา ต้องไม่มีการนำยาเทเข้าออก เพราะจะทำให้เกิดจุลชีพในขวดยา
-ตรวจดูฉลากยาและวันหมดอายุ
-ยาที่มีการนำออกมาใช้แล้ว ต้องมีความมั่นใจว่าสะอาด ปิดฝาขวดสนิท เก็บในตู้เย็นตลอดเวลา ต้องไม่เกิน 3 เดือน ถึงจะใช้ได้
-หากเป็นยาชนิดเม็ด เมื่อมีการนำมาใช้ เก็บไว้ได้ไม่เกิน 1 ปี สภาพยาเม็ด สีต้องไม่เปลี่ยน ไม่ยุ่ย ไม่มีความชื้น
-หากเป็นยาของเด็ก น้ำหนักของเด็กจะขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อน้ำหนักเปลี่ยน ปริมาณยาที่ใช้ย่อมไม่เหมือนเดิม วิธีที่ดีที่สุดคือเมื่อเด็กไม่สบาย ควรพบแพทย์เพื่อได้รับยาที่ถูกต้องและเหมาะสมจะดีที่สุด

ข้อควรคำนึงในการใช้ยาพาราเซตามอล ในเด็ก
ในบางครั้ง เด็กจะรับประทานยาค่อนข้างยาก และมักจะยึดติดกับรสชาติเดิมที่เคยรับประทาน ไม่ว่าจะเป็นรสส้ม รสองุ่น แต่ในความเป็นจริงผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด จึงควรคำนึงว่า ในบางครั้งรสชาติที่ต่างกัน ความแรงของยาย่อมต่างกันด้วย

นิยามของการใช้ยาแก้อักเสบ
ยาแก้อักเสบ ไม่ใช่ยาปฏิชีวนะ หลายคนมีความเข้าใจผิด เพราะความหมายที่แท้จริงของยาแก้อักเสบคือ เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวม ปวดข้อ หรือกระดูก แต่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
ในส่วนของยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ (ดำแดง เหลืองเขียว ที่หลายคนเข้าใจผิดเรียกว่าเป็นยาแก้อักเสบ) วัตถุประสงค์ในการออกฤทธิ์ จะใช้ในการฆ่าเชื้อจากการติดเชื้อในร่างกาย เมื่อได้รับแล้วต้องรับประทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง หากรับประทานยาไม่ครบอาจจะทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ เมื่อเคยรับประทานยาชนิดเดิมไม่ได้ จึงต้องเปลี่ยนเป็นยาปฏิชีวนะชนิดอื่นที่แรงขึ้นแล้วราคาของยาย่อมสูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

ลักษณะของการแพ้ยาปฏิชีวนะ หรือยาฆ่าเชื้อ
-ผื่น คัน หยุดยา หรือรับประทานยาแก้แพ้ อาการจะหาย
-มีไข้ ปวด แสบร้อนที่ปาก หรือปวดแสบร้อนตามผิวหนัง
-เป็นลมพิษ ซึ่งเมื่อเกิดที่ผิวหนังอาจจะไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าหากเกิดกับอวัยวะภายใน จะทำให้มีอันตรายกับชีวิตได้
*ข้อแนะนำ ทุกครั้งเมื่อรับประทานยาชนิดใหม่ที่ไม่เคยรับประทาน ให้สังเกตอาการแพ้ตัวเอง หากมีอาการแพ้ ควรกลับไปยังสถานพยาบาลที่ได้รับการรักษาก่อนหน้านั้น และแจ้งถึงอาการแพ้ของยา เพื่อทำการรักษา ลงประวัติการแพ้ยา

ลักษณะการแพ้ของยาแก้อักเสบ
เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ แก้ปวด เป็นยาแก้บรรเทาอาการ
*ข้อควรระวัง คือ ยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เมื่อได้รับยาประเภทนี้ แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาหลังอาหารทันที เพื่อลดอาการข้างเคียง หรือในบางครั้ง เมื่อรับการรักษาที่มีอาการปวดบวมแดง เกี่ยวกับข้อ กระดูก ประวัติการเป็นโรคกระเพาะ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ผู้ป่วยจะต้องแจ้งกับแพทย์ผู้รักษา เนื่องจากจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นแผลในกระเพาะสูง แพทย์จะได้ให้ยาป้องกันร่วมด้วย
เพราะฉะนั้นฉลากยา หรือเอกสารกำกับยา จะมีข้อบ่งชี้ในการใช้ หรือสรรพคุณของยาเท่านั้น รวมถึงข้อควรระวัง คำเตือนในการใช้ จึงถือว่าเป็นส่วนสำคัญก่อนการใช้ยา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลร้ายต่อผู้ใช้ยา ดังนั้นจึงควรอ่านฉลากหรือเอกสารกำกับยา ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ภญ.เยาวภา ชัยเจริญวรรณ หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

เรียบเรียง:นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่