อาจารย์แพทย์ มช สร้างเครือข่ายถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การนำไปปฎิบัติจริง
? เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2565 เวลา 11.00 น. เกิดเหตุที่อำเภอเกาะพะงัน นักท่องเที่ยวต่างชาติเด็กผู้หญิง อายุ 6 ปี สัมผัสพิษแมงกะพรุนกล่อง อาการสาหัส มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสมรวดเร็วจากผู้อยู่ในเครือข่ายแมงกะพรุนพิษและเครือข่ายถ่ายทอดองค์ความรู้ ได้รับกู้ชีพจากสถานพย่าบาลในเครือข่าย การปฐมพยาบาลจากโรงพยาบาลเกาะพะงัน จากนั้นมีการส่งตัว โดย เฮลิคอปเตอร์ จาก กองบิน 7 สุราษฎร์ธานี ไปยังโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี โดยในขณะนี้ ผู้ป่วยปลอดภัย
? จากให้สัมภาษณ์ นพ.มรรษยุว์ อิงคภาสกร แพทย์เวชศาสตร์ทางทะเล รพ.เกาะสมุย ผู้ประสานงานโครงการและผู้เข้าร่วมการอบรม “การอบรมเครือข่ายถ่ายทอดองค์ความรู้การเฝ้าระวังป้องกันการบาดเจ็บจากแมงกะพรุนพิษในพื้นที่ต้นแบบ”ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการสู่สังคมที่มีผลกระทบสูง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ศ.ดร.พญ.ลักขณา ไทยเครือสังกัดภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ (และ คุณสินีนาถ สันติธีรากุล หัวหน้างานบริหารงานวิจัย เป็นผู้ร่วมดำเนินการ) มีการดำเนินการสร้างเครือข่ายถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ผ่านมานับว่าประสบการณ์ความสำเร็จ ในการสร้างครูต้นแบบ ในการนำความรู้ไปถ่ายทอดสู่บุคคลต่าง ๆในสหวิชาชีพ เช่น ผู้ประกอบการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะ ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่ติดทะเล และ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยว อำเภอเกาะพะงัน นับว่าประสบความสำเร็จที่นักท่องเที่ยวปลอดภัยไม่เสียชีวิต เพราะได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีนั่นเอง
สวท.สมุย ประเด็น… เด็กหญิงชาวต่างชาติ อายุ 6 ปี ถูกแมงกะพรุนกล่อง ในอำเภอเกาะพะงัน อาการสาหัส ขณะนี้พักรักษาตัว ณ รพ.สุราษฎร์ธานี พ้นขีดอันตรายแล้ว https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid036KKvzQ3qLonYRyQY7KYCSVCJFfvTyHnZXayi69XSjuJAj5DXhC5XUP6gK4WZt96Zl&id=100009521651449