Skip to content

โรคมะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ผู้หญิงต้องรู้ | คลิป

สาเหตุของการเกิดมะเร็งรังไข่

ปัจจุบันเชื่อกันอยู่ 2 ทฤษฎี ทฤษฎีแรก เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกลอยไปติดที่รังไข่ ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติ ทฤษฎีที่ 2 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปลายของท่อนำไข่ ส่งผลทำให้เกิดเซลล์มะเร็งที่รังไข่


กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่

กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มียีนส์ที่ผิดปกติในตัว คือบุคคลที่มียีนส์ BRCA ซึ่งมีโฮกาสเป็นมะเร็งได้ง่ายหากมียีนส์นี้ ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ในร่างกาย

กลุ่มที่ 2 กลุ่มบุคคลที่ไม่เคยตั้งครรภ์ การตกไข่บ่อยเป็นสาเหตุทำให้ผิวรังไข่มีแผลเกิดขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งรังไข่


การเกิดของมะเร็งแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่

  1. กลุ่มที่ 1 เกิดจากเยื่อบุผิวรังไข่ มักจะเกิดในบุคคลที่มีอายุ 50-60 ปี พบส่วนใหญ่คือประมาณ 90%
  2. กลุ่มที่ 2 เกิดจากบริเวณไข่ เป็นมะเร็งฟองไข่ที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อน พบมากในคนอายุน้อย เกิดขึ้นได้ถึง 5%
  3. กลุ่มที่ 3 เกิดจากเนื้อเยื่อที่อยู่ในบริเวณรังไข่ อายุที่เจอบ่อยจะอยู่ที่ 50-60ปี พบไม่มาก

อาการของโรค

มะเร็งในรังไข่ในระยะแรกอาจจะไม่ปรากฏอาการ หากเกิดในระยะลุกลาม จะมีอาการ

  1. อืดแน่นท้อง ท้องเฟ้อ กินอาหารได้น้อย
  2. อาจคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณท้อง
  3. เลือดออกผิดปกติ

การตรวจวินิจฉัย

เมื่อเข้ารับการตรวจจากสูตินรีแพทย์ และได้ตรวจเจอก้อนบริเวณปีกมดลูก ซึ่งเป็นตำแหน่งของรังไข่ แพทย์จะยืนยันการวินิจฉันโดยการอัลตราซาวน์ จะเห็นลักษณะของรังไข่ที่โตผิดปกติ หากพบร่วมกับมีน้ำในช่องท้อง ค่อนข้างจะสนับสนุนในเรื่องของมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ จะมีวิธีตรวจเลือดที่เรียกว่า Tumor marker (สารบ่งชี้มะเร็ง) คนทั่วไปจะร็จักในชื่อ CA-125 หากตรวจแล้วค่าสูงผิดปกติ มีแนวโน้มเป็นมะเณ็งรังไข่

.

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ไม่ได้ง่าย โรคนี้ถือว่าเป็นโรคมะเร็งอันดับที่ 8 ที่พบมากในเพศหญิง ความสำคัญคือไม่สามารถตรวจคัดกรองจากผู้หญฺงทั่วไปได้ เจอโรคเมื่อเป็นระยะลุกลามไปแล้ว การรักษาส่วนใหญ่คือการผ่าตัด เพื่อเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกจากร่างกายให้มากที่สุด อาจะต้องตัดมดลูกและรังไข่ทั้ง 2 ข้างออกไป เพื่อเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกมาจากนั้นถึงจะให้ยาเคมีบำบัด

.

แพทย์แนะนำอยากให้เพศหญิงทุกคนว่าการเข้าพบสูตินรีแพทย์หรือตรวจร่างกายเป็นประจำปีทุกๆปี ปีละ 1 ครั้ง เป็นวิธีที่ทำให้คนไข้สามารถตรวจพบได้ว่าในร่างกายเริ่มมีการผิดปกติไหม ในตรวจภายในเป็นประจำอาจจะเป็นเรื่องดีในการตรวจเจอมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรก ซึ่งหากตรวจเจอในระยะเริ่มแรกการรักษาจะง่ายขึ้นมาก


รับชมผ่าน

Facebook: https://cmu.to/luBMX

Youtube: https://cmu.to/moXCV

วิทยากรโดย

รศ.พญ.ประภาพร สู่ประเสริฐ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มช.

อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

เรียบเรียงบทความโดย: นางสาวกชพร มโนรส นักศึกษาคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นักศึกษาฝึกงานงานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์ มช.