
ในช่วงฤดูฝนส่งผลให้มียุงเยอะขึ้นในชุมชน สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือโรคที่มากับยุง โรคที่สำคัญอยู่ 3 โรค ได้แก่ โรคไข้เลือกออก โรคชิคุนกุนยา โรคไวรัสซิกา โดยทั่วไปโรคไข้เลือดออกจะเกิดจากไวรัสชนิดนึง ชื่อว่า “ไวรัสแดงกี” (Dengue Virus) จะมีทั้งหมด 4 สายพันธ์ โดยไวรัสนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้โดยตรง แต่อาศัยยุงเป็นพาหะในการนำโรค ยุงที่สำคัญในการนำโรคไข้เลือกออก คือ “ยุงลาย” ในประเทศไทยจะมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ยุงลายบ้าน และยุงลายสวน คนที่ถูกยุงกัดจะไม่ได้มีอาการทันที ยุงจะอาศัยระยะฟักตัว โดยทั่วไประยะฟักตัวจะอยู่ประมาณ 7-10 วัน โดย
โรคไข้เลือดออก
ระยะช่วงเวลาป่วยของไข้เลือดออกจะแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส ขึ้นไป โดยอาจมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้องลิ้นปี่หรือขวาบน อาจจะมีอาการตับอักเสบร่วมด้วยสำหรับผู้ป่วยบางราย
เลือดออกง่ายผิดปกติ อาเจียนเป็นเลือดหรืออุจาระมีสีดำ
- ระยะวิกฤต “ระยะที่อันตรายถึงชีวิต”
ผู้ป่วยจะมีไข้ลดลง (ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอยู่ในระยะนี้) ระยะนี้ ผนังเลือดแดงฝอยจะสูญเสียการทรงตัว ทำให้สารน้ำที่อยู่ในเส้นเลือดไหลรั่ว ส่งผลให้ความดันโลหิตของผู้ป่วยตก และส่งผลต่อภาวะช็อค นอกจากนี้ในระยะนี้เกล็กเลือดของคนนไข้จะต่ำที่สุด ส่งผลผู้ป่วยมีเลือดออกมากกว่าปกติ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นเดียวกัน
- ระยะฟื้นตัว
และในปัจจุบันโรคไข้เลือดออกยังไม่มีการรักษาเฉพาะ ยังไม่มียาต้านไวรัสโดยเฉพาะ การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ หลีกเลี่ยงการให้ยาต้านการอักเสบ หรือ กลุ่มที่ไม่ใช่สเตรียรอยด์ เพราะจะทำให้เกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ
การป้องกันไข้เลือดออก 3 แนวทาง ได้แก่
- การป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด
- การกัดจัดแห่งเพาะพันธ์ยุง
- ฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก มี 2 ชนิด
ชนิดที่ 1
ฉีดได้ในผู้ป่วยอายุ 6 ขวบ – 45 ปี ทั้งหมด 3 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 6 เดือน (ต้องเป็นผู้ที่เคยติดไข้เลือดออก)
ชนิดที่ 2
ฉีดได้ในเด็กอายุ 4 ปี – 60 ปี ทั้งหมด 2 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 3 เดือน (ไม่จำเป็นต้องซักประวัติตรวจหาภูมิคุ้มกันก่อนการรับวัคซีน)
ข้อควรระวัง: วัคซีนทั้ง 2 ชนิดเป็นวัคซีนที่มีลักษณะเป็นเชื้อเป็น เพราะฉะนั้นไม่สามารถให้กับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิและผู้ที่ตั้งครรภ์ ให้นมบุตร
โรคซิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย
ระยะฟักตัวอาศัยระยะเวลา 3 – 7 วัน ผู้ที่ป่วยจะมีไข้สูง ร่วมกับอาการปวดข้อ มักจะเกิดขึ้นพร้อมกันหลาย ๆ จุดในร่างกาย การรักษาจะรักษาตามอาการเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก แต่โรคนี้จะไม่มีระยะวิกฤติ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรรค
โรคไวรัสซิกา
เกิดขึ้นจาก เชื้อไวรัสซิกา อาการของโรค ไม่รุนแรงมาก เช่น มีผื่นแดงตามตัวว มีเยื่อบุตาขาวอักเสบ แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีการตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะไตรมาสแรก) อาจจะทำให้เกิดอาการของโรคที่รุนแรงได้ เพราะไวรัสสามารถผ่านจากแม่สู่ลูกในครรภ์ได้ ส่งผลให้ทารกพิการ หรือมีพัฒนาการช้า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรืออาจสูญเสียการมองเห็นหรือได้ยิน หากมีความกังวลแนะนำให้ปรึกษากับคุณหมอสูติแพทย์เพื่อตรวจติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
หากมารดาสงสัยว่าทารกจะติดเชื้อ แนะนำว่าในช่วงแรกของการกำเนิด ให้มีการส่งตรวจเลือด หรือปัสสาวะของเด็ก หากมีการเจาะน้ำไขสันหลัง สามารถนำน้ำไขสันหลังไปตวจหาเชื้อของไวรัสได้ ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะหรือการรักษาเฉพาะ
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงสำหรับเด็ก
แนะนำให้อยู่ภายใต้คำแนะนำของผู้ปกครองและเลือกผลิตภัณฑ์ภายใต้การแนะนำของ อย. ไทย โดยก่อนที่มีการใช้ต้องศึกษาคู่มือของการใช้ยา รวมถึงศึกษาเอกสารประกอบคำแนะนำการใช้ยากันยุงเพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง โดยหลักการใช้จะใช้ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่ใช้ติดต่อกันจนเกินไป ส่วนใหญ่จะรับรองให้ใช้ตั้งแต่เด็กที่มีอายุเกิน 4 ปีขึ้นไป หรือ อาจจะมีบางตัวที่แนะนำให้ใช้ในอายุ 2 ปีขึ้นไป แต่ไม่รับรองให้ใช้ในเด็กทารก เน้นให้สวมใส่เสื้อผ้าที่มิดชิดและป้องกันยุงโดยวิธีอื่นๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รศ.ดร.พ.ญ. ทวิติยา สุจริตรักษ์
อาจารย์ประจำสาขาโรคติดเชื้อ กุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียงบทความโดย: นางสาวกชพร มโนรส นักศึกษาคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นักศึกษาฝึกงานงานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์ มช.
