banner
banner

ประวัติ

ลิงค์ที่น่าสนใจ
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ

QR-Code สำหรับ facebook


ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ

QR-Code สำหรับเว็บไซต์

แบบประเมินการทิ้งขยะ

QR-Code แบบประเมินการทิ้งขยะ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามของประเทศไทย และเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรก สถานที่ตั้งปัจจุบันคือ เลขที่ ๑๑๐ ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๗๖ ไร่ มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดประตูสวนดอก

การจัดตั้ง

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตแพทย์แต่เพียงแห่งเดียวในอดีต ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในประเทศไทย แม้จะได้พยายามเพิ่มการผลิตแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ทั้งสองแห่งที่มีอยู่ (คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์) แล้วก็ตาม แต่ภายหลังที่แพทยสำเร็จการศึกษาแล้ว ส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ ๆ ใกล้เคียง จึงเสนอขอจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามที่สามต่อกระทรวงสาธารณสุข โดยมีจุดมุ่งหมายว่า เพื่อให้แพทย์ได้สัมผัสกับชีวิตในส่วนภูมิภาคตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา มีจิตใจรักภูมิภาค และด้วยความหวังว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะยังคงประกอบอาชีพในส่วนภูมิภาค จึงร่วมกันเสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามที่จังหวัดเชียงใหม่ ต่อรัฐบาลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมาตรี ใน พ.ศ.๒๔๙๗

พ.ศ. ๒๔๙๙ นายแพทย์เฉลิม พรหมมาส ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขณะนั้น ได้ติดต่อกับองค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกา (USOM) ซึ่งกำลังดำเนินการช่วยเหลือการศึกษาแพทยศาสตร์ในประเทศไทย อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล โดยมี Dr.Robert W. Richard ผู้ซึ่งเป็น Technical Advisor ของโครงการอบรมเทคนิคการแพทย์ ช่วยประสานงานกับฝ่ายบริหารขององค์การฯในที่สุด องค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกา เล็งเห็นความสำคัญในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทย จึงได้ตกลงให้ความช่วยเหลือและทำสัญญากัน เมื่อ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ มีสาระสำคัญว่า สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินครั้งหนึ่ง ในวงเงิน ๖๕ ล้านบาท โดยให้รัฐบาลไทยจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามที่จังหวัดเชียงใหม่แทนพิษณุโลกให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการด้วย หลักการใหญ่ ๆ ที่รัฐบาลอเมริกันตกลงให้ความช่วยเหลือมีดังนี้

  1. ค่าก่อสร้างอาคารเป็นเงินครึ่งหนึ่ง
  2. จัดหาครูอเมริกันมาช่วยสอน จนกว่าฝ่ายไทยจะสามารถดำเนินการได้เอง โดยใช้เวลาประมาณ 6-8 ปี
  3. จัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาให้
  4. จ้างบริษัท Litchfield Whiting Brownes Associated เป็นผู้ออกแบบอาคารโรงเรียนแพทย์
  5. ให้ทุนอาจารย์แพทย์และพยาบาลไทย ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา

วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๙ กรมวิเทศสหการได้ยืนยันความตกลงเป็นทางการกับองค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ก็ยืนยันความต้องการที่ะสร้างโรงเรียนแพทย์ที่เชียงใหม่ จึงเสนอกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกา และอนุมัติในหลักการให้ตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามได้ที่เชียงใหม่

  • ๑๒ ธันวาคม ๒๔๙๙ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติในหลักการ ให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ที่เชียงใหม่ ตามที่มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้เเสนอ
  • ๑ มกราคม ๒๕๐๒ โอนโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ของกระทรวงสาธารณสุขมาสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๐๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๓
  • ๑๘ มิถุนายน ๒๕๐๗ มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ๒๔ มกราคม ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ๑๖ มีนาคม ๒๕๐๘ โอนคณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มาสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ๒๕ กรกฏาคม ๒๕๒๖ พระราชพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ เป็น “โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่”

Ebola
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ
ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ


ค้นหาข้อมูลบนเว็บคณะฯ
Ebola
Ebola
Ebola