รู้จักโรคต้อกระจก และการผ่าตัดต้อกระจกด้วยวิธีเลเซอร์ พร้อมเลือกเลนส์ตาเทียมอย่างเหมาะสมกับการใช้งาน

รู้จักโรคต้อกระจก และการผ่าตัดต้อกระจกด้วยวิธีเลเซอร์

พร้อมเลือกเลนส์ตาเทียมอย่างเหมาะสมกับการใช้งาน

                                                                                     

                        ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ การดูแลรักษาดวงตาจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่ง ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ดวงตาได้พัก จะช่วยรักษาให้ดวงตาอยู่ในสภาพที่ดีต่อไปได้อย่างยาวนาน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดโรคต่างๆ อาทิ โรคต้อกระจก โรคต้อหิน เป็นต้น

   

รศ.นพ.ดิเรก ผาติกุลศิลา อาจารย์ประจำภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อธิบายถึงอาการของโรคต้อกระจกว่า เป็นภาวะเลนส์นัยน์ตาขุ่น ปกติเลนส์ที่อยู่ในตา เมื่อเราเกิดมาดวงตาจะใส เมื่อเราใช้งานไปนานๆตาของเราจะขุ่นได้เอง หรือบางรายอาจจะเกิดต้อกระจกตั้งแต่เด็ก แต่จะพบเป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่ต้อกระจกจะเกิดกับผู้ที่มีอายุมากขึ้น ซึ่งเกิดจากโปรตีนที่อยู่ในเลนส์ตา มีการเสื่อมสภาพ จะคล้ายกับผมที่เปลี่ยนสี เมื่อมีอายุมากขึ้น ผิวหนังเกิดริ้วรอยจากความชรา ซึ่งเป็นสัญญาณของความอายุยืนอย่างหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี สาเหตุของโรคต้อกระจกไม่ได้เกิดจากอายุเพียงอย่างเดียว ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้อีก บางรายอาจจะโดนอุบัติเหตุกระทบกระแทก อาจจะหยอดยา ทานยาจำพวกสเตียรอยด์เพื่อที่จะรักษาโรคประจำตัวบางอย่าง หรือแม้แต่การอักเสบภายในลูกตา หรือการทานยารักษาโรคอื่น แล้วทำให้ เกิดต้อกระจกได้เป็นต้น โรคตาอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดต้อกระจกได้ แต่หลักๆที่พบได้บ่อยที่สุดคือตามอายุ ส่วนมากเกิน 60 ปี ขึ้นไป

โรคต้อกระจกอาการจะชัดเจนคือตามัว ถ้าตาไม่มัวจะไม่เป็นต้อกระจก หรือเป็นน้อยมาก ซึ่งยังไม่ได้ต้องการการรักษาใดๆ ถ้าไม่รู้สึกว่ามัว หรือมัวที่ไม่ได้เกิดจากต้อกระจกอย่างเดียว แต่เกิดจากโรคอื่นได้อีก เพราะสาเหตุทางตาที่ทำให้เกิดตามัวมีสาเหตุหลายอย่างมากมาย ไม่ใช่ต้อกระจกเพียงอย่างเดียว ลักษณะของต้อกระจกจะมัวเหมือนหมอกลงเป็นฝ้า แต่ถ้าเกิดมัวอย่างอื่นเช่น มัวเหมือนมีเงามาบัง มัวเหมือนภาพเบี้ยว พวกนั้นจะไม่ใช่ มัวบางอย่างอาจจะเกิดจากแว่นตา เกิดจากสายตา เกิดจากสายตา หากถ้าไปเช็คที่ร้านแว่นตา เมื่อไปร้านแว่นตาเพื่อเช็คดูแล้วไม่ดีขึ้น อาจจะมีโรค ไม่ว่าจะต้อกระจก หรือโรคใดๆก็ตาม แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เมื่ออายุมากขึ้นบางโรคจะเป็นโรคต้อกระจก โดยทั่วไป ช้านิดช้าหน่อยไม่ค่อยเป็นไร แต่อย่าช้ามาก ถ้าช้ามากท้ายที่สุด ต้อกระจกจะเกิดต้อหินแทรก โดยมีอาการปวดตา แล้วทำให้ปวดทรมานเฉียบพลัน ในที่สุด ถ้าไม่รักษาตาอาจจะบอดไปเลย แต่นั้นคือระยะท้ายๆ

นอกจากนี้ อาจารย์ยังแนะนำว่า ให้รักษาด้วยการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ จริงๆ ไม่ใช่เลเซอร์ทั้งหมดเลยทีเดียว เป็นเลเซอร์มาช่วยกับการผ่าตัดตามมารฐาน จริงๆแล้วการผ่าตัดมาตรฐานคือการใช้แบบคลื่นเสียงความสูง ความจริงคลื่นความถี่สูงใช้มานานกว่า 30 ปี ส่วนใหญ่แพทย์ทุกคนที่จบไปจะมีความชำนาญกันทั้งหมด ถือเป็นการผ่าตัดมาตรฐานตามปกติที่ใช้กันทั่วไป แต่ว่าการใช้เลเซอร์มาช่วย เป็นการที่นำเลเซอร์มาช่วยบางส่วน อาจจะเรียกว่า 20-25 เปอร์เซนต์ ของการผ่าตัด คลื่นเสียงความถี่สูงทั่วไป โดยที่เลเซอร์มาช่วยในส่วนที่ต้องการความแม่นยำมากขึ้น เพราะเลเซอร์จะใช้ตัดเนื้อเยื่อได้แม่นยำมากกว่าการผ่าตัดด้วยมือแพทย์ เลเซอร์ช่วยเพิ่มความแม่นยำโดยเฉพาะกรณีที่คนที่จะใส่เลนส์พิเศษ คนที่ต้องการใส่เลนส์พิเศษ เลเซอร์จะช่วยได้มากกว่าคนที่ใส่เลนส์ปกติ

วิธีการรักษาโรคต้อกระจกนั้น ยุคแรกจะใช้เข็มเขี่ย ให้ต้อตกไปด้านหลัง และไม่บัง เพราะต้อเลนส์อยู่ข้างในจะขุ่น และบังเลนส์เพราะฉะนั้นจะเขี่ยเลนส์ให้ตกไปด้านหลัง ต่อมา วิธีนั้นเลนส์ไม่ได้เอาออก ก็เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาเยอะแยะ ยุคที่ 2 คือการผ่าตัดเลนส์ออก แต่เดิมเอาออกทั้งถุงเลนส์ พอต่อมามีพัฒนาการเลนส์ขึ้นมา ว่าจะเอาเลนส์เทียมมาใส่ จึงเหลือถุงเลนส์เอาไว้ เพื่อที่จะเหมือนหิ้งวางเลนส์ ยุคที่ 3 ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงที่ใช้มาในปัจจุบันที่เมืองไทยทำมา 30 ปี และยุคที่ 4 คือผ่าตัดด้วยเลเซอร์ เริ่มมาใช้ไม่นาน เริ่มมาได้ประมาณ 5 ปีได้ ซึ่งการผ่าตัดยุคที่ 4 จะคล้ายยุคที่ 3 เพียงแต่จะใช้เลเซอร์เพิ่มมาบางส่วนเท่านั้น ส่วนใหญ่จะผ่าตัดแบบยุคที่ 3 ที่ได้นำเลเซอร์มาใช้ในบางส่วน เนื่องจากการผ่าตัดด้วยเลอเซอร์ทั้งหมดจะมีค่าใช้จ่ายสูง เพียงแต่ว่าการใช้เลเซอร์อาจจะทำได้ มีความแม่นยำ สามารถที่จะใส่เลนส์อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม มากกว่าวิธีที่ปกติ แต่วิธีเลเซอร์จะมีความถูกต้อง แม่นยำยิ่งกว่า

 สิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกเลนส์แก้วตาเทียม แพทย์จะให้คำปรึกษาเรื่องการเลือกเลนส์อย่างละเอียดเพื่อจะได้อยู่กับผู้ป่วยตลอดชีวิต ได้แก่ เลนส์โฟกัสระยะเดียว 2) เลนส์โฟกัสระยะเดียว ชนิดแก้สายตาเอียง        3) เลนส์โฟกัสหลายระยะ 4) เลนส์โฟกัสหลายระยะ ชนิดแก้สายตาเอียง  ทั้งนี้อยู่ที่การเลือกความต้องการของผู้ป่วย เนื่องจากราคาจะขึ้นตามระดับความต้องการ เมื่อมีการผ่าตัด จะสามารถใช้เลนส์นั้นได้ตลอดไม่มีการเปลี่ยนซ้ำ  ปัจจุบันการพักฟื้นหลังการผ่าตัด ด้วยคลื่นความถี่สูงกว่าปกติที่เป็นมาตรฐาน หรือวิธีใช้เลเซอร์ร่วมกับคลื่นความถี่สูง การผ่าตัดทั้งคู่ใช้เวลาในการพักฟื้นเท่ากัน บางรายเมื่อผ่าตัดเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย หรือบางราย นอน 1 คืนหลังการผ่าตัด แล้วปลับไปพักฟื้นที่บ้านประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็สามารถกลับไปทำงานได้

หากมีข้อสงสัย ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้องตรวจตา ชั้น 7 อาคารศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มช. โทร. 053-935748

********************************************************